องค์พระมิ่งเมือง
องค์พระมิ่งเมือง
ประวัติหรือความเป็นมาขององค์พระหลวงพ่อมิ่งเมืองอำเภอโกสุมพิสัย
ซึ่งประดิษฐานอยู่ทรากพัทธสีมาหน้าวัดกลางโกสุมพิสัย ฝั่งแม่น้ำชี
เป็นพระพุทธรูปซึ่งสลักด้วยดินศิลาแลง คล้ายกับเทวรูป
เมื่อก่อนที่ยังไม่ได้บูรณนอนจมดิน คอ แขน ขา หักออกเป็นท่อนๆ ชาวบ้านเรียกว่า
"พระคอกุ้น" องค์พระสร้างในสมัยใดใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฎ ไม่มีตำนานหรือหลักฐานที่อ้างถึง
เท่าที่สังเกตเป็นพระพุทธรูปยืน อยู่ในพระอุโบสถ
กาลนานมาย่อมผุพังแตกหักไปทั้งโบสถ์และองค์พระ เพราะบ้านหรือเมืองร้างไปในสมัยนั้น
เกิดป่าปกคลุมแน่นหนากลายเป็นป่าดงดิบไป
บรรพบุรุษของชาวอำเภอโกสุมพิสัยต่างก็เห็นองค์พระกันอยู่ต่อๆ มาอย่างนั้น
แต่ชาวบ้านทั้งหลายก็ต่างเข้าใจเอาเองว่า
ทั้งองค์พระอุโบสถคงจะได้ก่อสร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจอยู่ในแคว้นนี้ ราว พ.ศ.
1300-1700 รุ่นเดียวกันกับปราสาทหินพิมาย เขาพระวิหารหรือกู่ ที่มีอยู่ในที่ต่างๆ
ตามจังหวัดและอำเภอในภาคอีสาน ได้ความตามบันทึกพงศาวดารเมืองโกสุมพิสัย
ครั้งในกรมหมื่นสรรพสิทธิ์ประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์รักษาราชการมณฑลลาวกาว
ซึ่งคณะกรรมการเมืองโกสุมพิสัยทำประวัติส่งไปถวายที่เมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่
28 เดือนมกราคม พ.ศ. 2439 ความว่า เมื่อ พ.ศ. 2413 มีนายพราน 2 คน คนหนึ่งชื่อหมา
คนหนึ่งชื่อบัว เป็นคนบ้านโนนเมือง
หมู่บ้านนี้บัดนี้ก็ชื่อหมู่บ้านโนนอยุ่ทางทิศตะวันตกของอำเภอโกสุมพิสัย
ห่างจากที่ตั้งอำเภอประมาณ 16 กิโลเมตร ในปัจจุบันตามที่สันนิษฐาน
คงจะเป็นเมืองเก่ามาก่อนในสมัยขอมเรืองอำนาจเช่นกัน
เพราะมีพระพุทธรูปใหญ่อยู่ในทรากพัทธสีมาซึ่งชาวบ้านเรียกว่า วัดธาตุ
ชาวบ้านแถบนั้นนิยมนับถือ ถึงฤดูกาลพากันไปนมัสการกราบไหว้ด้วยดอกไม้ธูปเทียน
สรงน้ำพระ ก่อพระทรายเป็นที่สักการะบูชาทุกๆ ปี
พรานหมาและพรานบัวพร้อมด้วยพรรคพวกประมาณ 10 คน
ได้ออกจากหมู่บ้านหรือเมืองนี้ไปล่าเนื้อมาพบพระพุทธรูปในทรากพัทธสีมาริมฝั่งแม่น้ำชีเข้า
และในวันนั้นไม่ได้พบเนื้อแม้แต่ตัวเดียว
พอค่ำลงนอนอาศัยใกล้ทรากพัทธสีมานี้แล้วเกิดฝันร้ายว่า
มีคนร่างใหญ่ผมขาวมาขู่จะเอาชีวิตกับพวกล่าเนื้อทั้งหมดว่าถ้าอยากมีชีวิตต่อไปให้ปลูกศาลหรือหอเพียงตาคนแล้วเก็บดอกไม้ในป่าที่หาได้ในแถบนั้นมาสักการะบูชาบนบานขอให้พบเนื้อและมีความปลอดภัยทุกๆ
คน แล้วผลก็สมปรารถนาทุกประการ
ปรากฎตามรายงานที่คณะกรรมการเมืองโกสุมพิสัยที่กล่าวถึงไว้ดังกล่าวมา
ต่อมาก็มีชาวบ้านหนองคูแขวงเมืองสุวรรณภูมิ 7 ครอบครัว มาจากบ้านสอง
แขวงเมืองมหาสารคาม อีก 5 ครอบครัว รวมเป็น 12 ครอบครัว มีคนประมาณ 31 คน
ได้อพยพจากหมู่บ้านดังกล่าวมาพบที่นี่เข้า
เห็นว่าเป็นเมืองไชยภูมิดีใกล้น้ำสมควรที่จะตั้งเป็นบ้านได้
จึงพากันปราบพื้นที่ปลูกเรือนหรือที่พักใกล้เคียงกับศาลเจ้าหรือหอพระที่คนชุดก่อนได้สร้างขวางตะวันไว้
แล้วเรียกชื่อหมู่บ้านของคนตามฉายาของหออารักษ์ว่า “หมู่บ้านหอขวาง” ตั้งแต่นั้นมา
ครั้นเมื่อ
พ.ศ. 2414-2415 อุปฮาตเมืองมหาสารคามพาสมัครพรรคพวกอีก 16 ครอบครัว
รวมชายหญิงทั้งสิ้นประมาณ 62 คน มาตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านท่าหอขวาง
จนถึง
พ.ศ. 2420 พระเจริญราชเดช เจ้าเมืองมหาสารคามได้ถึงแก่กรรมลง
อุปฮาตจึงต้องกลับไปดำรงตำแหน่งแทนพระเจริญเดชเจ้าเมืองมหาสารคามต่อไป
ต่อนั้นมาข่าวเล่าลือความอุดมสมบูรณ์ของบ้านท่าหอขวางที่แพร่กระจายไปจึงมีคนอพยพจากถิ่นต่างๆ
เช่นมาจากเขตอำเภอกันทรวิชัย และบ้านเมืองท่าสวนยาที่แตกบ้านอพยพมาอยู่
ู่เป็นจำนวนมาก ในที่สุดกลายเป็น 3 หมู่บ้านใหญ่ คือบ้านคุ้มใต้ บ้านคุ้มสังข์
ค่อยๆ เจริญและเพิ่มปริมาณครอบครัวเป็นลำดับมา ตามตำบลและหมู่บ้านต่างๆ
อีกก็มาก
เมื่อประมาณ
พ.ศ. 2475 มีนายไซ่เกีย แซ่โค้ว (ต้นตระกูลสัจจพงษ์ ปัจจุบัน)
เชื้อสายจีนมาตั้งรกรากทำมาค้าขายอยู่ที่ตลาดอำเภอโกสุมพิสัย กับพระอาจารย์บุญมี
(วงษ์ศึก) เจ้าอาวาสวัดกลางโกสุม
ในสมัยนั้นพร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรและชาวบ้านคุ้มกลางโกสุม
ได้ร่วมกับบริจาคเงินเป็นทุนช่วยกันปฏิสังขรณ์ส่วนต่าง ๆ
ขององค์พระชำรุดหายไปให้สมบูรณ์ และทำการบูรณะสถานที่ทำหลังคามุงด้วยสังกะสี
ต่อมาเมื่อ
พ.ศ. 2502 ท่านพระครูพิชัยโกสุมภกิจ (คุณพ่อนิพนธ์ วิกยานนท์)
และผู้จัดการโรงเรียนนิพนธ์ประสิทธิ์วิทยา ปัจจุบันโรงเรียนมัธยมวัดกลางโกสุม
ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอโกสุมพิสัยในสมัยนั้นได้ประชุมหารือกับชาวบ้านคุ้มกลางและหมู่บ้านไกล้เคียงได้เสียสละเงนตามกำลังศรัทธามาเพื่อเป็นทุนก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นลักษณะมณฑปครอบองค์พระไว้
โดยใช้เสาคอนกรีตเสริมเหล็กลาดพื้นซีเมนต์ หลังคามุงกระเบื้อง
นับว่ามั่นคงถาวรกว่าเดิมสิ้นค่าก่อสร้าง สมัยนั้นประมาณ 100,000 บาท
ในปี
พ.ศ. 2505 ทางราชการอนุญาตให้จัดเป็นงานเทศกาลฉลององค์พระมิ่งเมือง ตามหนังสือที่
582/2505 ลงวันที่ 17 มกราคม 2505 ในสมัยนายนวน มีชำนาญ เป็นผู้ว่าราชการ
จังหวัดมหาสารคาม โดยให้ยกเว้นค่าอากรมหรสพทุกประเภท
เริ่มมีการจัดงานตั้งแต่วันที่ 1-5 กมภาพันธ์ 2505 เป็นต้นมา โดยถือเอาวันที่
1-2-3 กุมภาพันธ์ องปีที่วางศิลาฤกษ์ในการก่อมณฑปขึ้นใหม่ จึงถือเอาวันที่ 1-5
กุมภาพันธ์
ของทุกปีเป็นวันจัดงานเพราะถือเป็นวันคล้ายวันวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างมณฑปองค์พระมิ่งเมือง
ที่มา http://202.29.22.173/php/information/silipad/WEB/Kosum10.html
องค์พระมิ่งเมือง
ประวัติหรือความเป็นมาขององค์พระหลวงพ่อมิ่งเมืองอำเภอโกสุมพิสัย
ซึ่งประดิษฐานอยู่ทรากพัทธสีมาหน้าวัดกลางโกสุมพิสัย ฝั่งแม่น้ำชี
เป็นพระพุทธรูปซึ่งสลักด้วยดินศิลาแลง คล้ายกับเทวรูป
เมื่อก่อนที่ยังไม่ได้บูรณนอนจมดิน คอ แขน ขา หักออกเป็นท่อนๆ ชาวบ้านเรียกว่า
"พระคอกุ้น" องค์พระสร้างในสมัยใดใครเป็นผู้สร้างไม่ปรากฎ ไม่มีตำนานหรือหลักฐานที่อ้างถึง
เท่าที่สังเกตเป็นพระพุทธรูปยืน อยู่ในพระอุโบสถ
กาลนานมาย่อมผุพังแตกหักไปทั้งโบสถ์และองค์พระ เพราะบ้านหรือเมืองร้างไปในสมัยนั้น
เกิดป่าปกคลุมแน่นหนากลายเป็นป่าดงดิบไป
บรรพบุรุษของชาวอำเภอโกสุมพิสัยต่างก็เห็นองค์พระกันอยู่ต่อๆ มาอย่างนั้น
แต่ชาวบ้านทั้งหลายก็ต่างเข้าใจเอาเองว่า
ทั้งองค์พระอุโบสถคงจะได้ก่อสร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจอยู่ในแคว้นนี้ ราว พ.ศ.
1300-1700 รุ่นเดียวกันกับปราสาทหินพิมาย เขาพระวิหารหรือกู่ ที่มีอยู่ในที่ต่างๆ
ตามจังหวัดและอำเภอในภาคอีสาน ได้ความตามบันทึกพงศาวดารเมืองโกสุมพิสัย
ครั้งในกรมหมื่นสรรพสิทธิ์ประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์รักษาราชการมณฑลลาวกาว
ซึ่งคณะกรรมการเมืองโกสุมพิสัยทำประวัติส่งไปถวายที่เมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่
28 เดือนมกราคม พ.ศ. 2439 ความว่า เมื่อ พ.ศ. 2413 มีนายพราน 2 คน คนหนึ่งชื่อหมา
คนหนึ่งชื่อบัว เป็นคนบ้านโนนเมือง
หมู่บ้านนี้บัดนี้ก็ชื่อหมู่บ้านโนนอยุ่ทางทิศตะวันตกของอำเภอโกสุมพิสัย
ห่างจากที่ตั้งอำเภอประมาณ 16 กิโลเมตร ในปัจจุบันตามที่สันนิษฐาน
คงจะเป็นเมืองเก่ามาก่อนในสมัยขอมเรืองอำนาจเช่นกัน
เพราะมีพระพุทธรูปใหญ่อยู่ในทรากพัทธสีมาซึ่งชาวบ้านเรียกว่า วัดธาตุ
ชาวบ้านแถบนั้นนิยมนับถือ ถึงฤดูกาลพากันไปนมัสการกราบไหว้ด้วยดอกไม้ธูปเทียน
สรงน้ำพระ ก่อพระทรายเป็นที่สักการะบูชาทุกๆ ปี
พรานหมาและพรานบัวพร้อมด้วยพรรคพวกประมาณ 10 คน
ได้ออกจากหมู่บ้านหรือเมืองนี้ไปล่าเนื้อมาพบพระพุทธรูปในทรากพัทธสีมาริมฝั่งแม่น้ำชีเข้า
และในวันนั้นไม่ได้พบเนื้อแม้แต่ตัวเดียว
พอค่ำลงนอนอาศัยใกล้ทรากพัทธสีมานี้แล้วเกิดฝันร้ายว่า
มีคนร่างใหญ่ผมขาวมาขู่จะเอาชีวิตกับพวกล่าเนื้อทั้งหมดว่าถ้าอยากมีชีวิตต่อไปให้ปลูกศาลหรือหอเพียงตาคนแล้วเก็บดอกไม้ในป่าที่หาได้ในแถบนั้นมาสักการะบูชาบนบานขอให้พบเนื้อและมีความปลอดภัยทุกๆ
คน แล้วผลก็สมปรารถนาทุกประการ
ปรากฎตามรายงานที่คณะกรรมการเมืองโกสุมพิสัยที่กล่าวถึงไว้ดังกล่าวมา
ต่อมาก็มีชาวบ้านหนองคูแขวงเมืองสุวรรณภูมิ 7 ครอบครัว มาจากบ้านสอง
แขวงเมืองมหาสารคาม อีก 5 ครอบครัว รวมเป็น 12 ครอบครัว มีคนประมาณ 31 คน
ได้อพยพจากหมู่บ้านดังกล่าวมาพบที่นี่เข้า
เห็นว่าเป็นเมืองไชยภูมิดีใกล้น้ำสมควรที่จะตั้งเป็นบ้านได้
จึงพากันปราบพื้นที่ปลูกเรือนหรือที่พักใกล้เคียงกับศาลเจ้าหรือหอพระที่คนชุดก่อนได้สร้างขวางตะวันไว้
แล้วเรียกชื่อหมู่บ้านของคนตามฉายาของหออารักษ์ว่า “หมู่บ้านหอขวาง” ตั้งแต่นั้นมา
ครั้นเมื่อ
พ.ศ. 2414-2415 อุปฮาตเมืองมหาสารคามพาสมัครพรรคพวกอีก 16 ครอบครัว
รวมชายหญิงทั้งสิ้นประมาณ 62 คน มาตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านท่าหอขวาง
จนถึง
พ.ศ. 2420 พระเจริญราชเดช เจ้าเมืองมหาสารคามได้ถึงแก่กรรมลง
อุปฮาตจึงต้องกลับไปดำรงตำแหน่งแทนพระเจริญเดชเจ้าเมืองมหาสารคามต่อไป
ต่อนั้นมาข่าวเล่าลือความอุดมสมบูรณ์ของบ้านท่าหอขวางที่แพร่กระจายไปจึงมีคนอพยพจากถิ่นต่างๆ
เช่นมาจากเขตอำเภอกันทรวิชัย และบ้านเมืองท่าสวนยาที่แตกบ้านอพยพมาอยู่
ู่เป็นจำนวนมาก ในที่สุดกลายเป็น 3 หมู่บ้านใหญ่ คือบ้านคุ้มใต้ บ้านคุ้มสังข์
ค่อยๆ เจริญและเพิ่มปริมาณครอบครัวเป็นลำดับมา ตามตำบลและหมู่บ้านต่างๆ
อีกก็มาก
เมื่อประมาณ
พ.ศ. 2475 มีนายไซ่เกีย แซ่โค้ว (ต้นตระกูลสัจจพงษ์ ปัจจุบัน)
เชื้อสายจีนมาตั้งรกรากทำมาค้าขายอยู่ที่ตลาดอำเภอโกสุมพิสัย กับพระอาจารย์บุญมี
(วงษ์ศึก) เจ้าอาวาสวัดกลางโกสุม
ในสมัยนั้นพร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรและชาวบ้านคุ้มกลางโกสุม
ได้ร่วมกับบริจาคเงินเป็นทุนช่วยกันปฏิสังขรณ์ส่วนต่าง ๆ
ขององค์พระชำรุดหายไปให้สมบูรณ์ และทำการบูรณะสถานที่ทำหลังคามุงด้วยสังกะสี
ต่อมาเมื่อ
พ.ศ. 2502 ท่านพระครูพิชัยโกสุมภกิจ (คุณพ่อนิพนธ์ วิกยานนท์)
และผู้จัดการโรงเรียนนิพนธ์ประสิทธิ์วิทยา ปัจจุบันโรงเรียนมัธยมวัดกลางโกสุม
ได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะอำเภอโกสุมพิสัยในสมัยนั้นได้ประชุมหารือกับชาวบ้านคุ้มกลางและหมู่บ้านไกล้เคียงได้เสียสละเงนตามกำลังศรัทธามาเพื่อเป็นทุนก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นลักษณะมณฑปครอบองค์พระไว้
โดยใช้เสาคอนกรีตเสริมเหล็กลาดพื้นซีเมนต์ หลังคามุงกระเบื้อง
นับว่ามั่นคงถาวรกว่าเดิมสิ้นค่าก่อสร้าง สมัยนั้นประมาณ 100,000 บาท
ในปี
พ.ศ. 2505 ทางราชการอนุญาตให้จัดเป็นงานเทศกาลฉลององค์พระมิ่งเมือง ตามหนังสือที่
582/2505 ลงวันที่ 17 มกราคม 2505 ในสมัยนายนวน มีชำนาญ เป็นผู้ว่าราชการ
จังหวัดมหาสารคาม โดยให้ยกเว้นค่าอากรมหรสพทุกประเภท
เริ่มมีการจัดงานตั้งแต่วันที่ 1-5 กมภาพันธ์ 2505 เป็นต้นมา โดยถือเอาวันที่
1-2-3 กุมภาพันธ์ องปีที่วางศิลาฤกษ์ในการก่อมณฑปขึ้นใหม่ จึงถือเอาวันที่ 1-5
กุมภาพันธ์
ของทุกปีเป็นวันจัดงานเพราะถือเป็นวันคล้ายวันวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างมณฑปองค์พระมิ่งเมือง
ที่มา http://202.29.22.173/php/information/silipad/WEB/Kosum10.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น